ทำความรู้จัก เงินชราภาพ ประกันสังคม คืออะไร หลังมีประกาศจาก ครม. อนุมัติ ไฟเขียวร่าง พ.ร.บ. ประกันสังคม สามารถ “ยืม” เงินชราภาพได้แล้ว พร้อมเพิ่มสิทธิประโยชนแก่ ผู้ประกันตน มาตรา 33 (ม.33)แนะนำ เงินชราภาพ ประกันสังคม คืออะไร หลังจากวันนี้ ครม. เห็นชอบร่าง พ.ร.บ. ประกันสังคม ไฟเขียว เงินชราภาพ ประกันสังคม สามารถยืมได้แล้ว อีกทั้งยังได้ปรับ เพิ่ม สิทธิประโยชน์ต่าง ๆ สำหรับผู้ประกันตน มาตรา 33 ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น ซึ่งจะมีอะไรปรับเปลี่ยนหลังจาก ครม. ไฟเขียว ยืม เงินชราภาพ ประกันสังคม ได้บ้าง เช็คที่นี่ได้เลย
รู้จัก เงินชราภาพ ประกันสังคม คืออะไร ใครมีสิทธิบ้าง
เงินชราภาพ ประกันสังคม คือ สิทธิประโยชน์ของ ผู้ประกันตน ตามมาตรา 33 ซึ่งมีอายุไม่เกิน 60 ปี บริบูรณ์ และยังคงเป็นลูกจ้างอยู่ภายใต้พระราชบัญญาติประกันสังคม โดยจะมีรายละเอียดสิทธิประโยชน์ที่ได้รับความคุ้มครองใน 7 กรณี เมื่อจ่ายเงินสมทบครบ 3 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนรับบริการทางการแพทย์
ผู้มีสิทธิได้รับเงินชราภาพ ประกันสังคม โดยผู้ที่มีสิทธิได้รับ เงินชราภาพ จะแบ่งออกเป็น 2 กรณี คือ เงินบำนาญชราภาพ จะต้องมีมีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ และจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 180 เดือน ขึ้นไป ความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง กับ เงินบำเหน็จชราภาพ จะต้องมีอายุครบ 55 ปี บริบูรณ์ ส่งเงินสมทบไม่ถึง 180 เดือน เป็นผู้ทุพพลภาพ หรือถึงแก่ความตาย
อัปเดต ข่าว เงินชราภาพ ล่าสุด หลัง ครม. ไฟเขียว ให้ยืมได้แล้ว ทาง ครม. ได้อนุมัติ ร่าง พ.ร.บ. ประกันสังคม ปรับสิทธิประโยชน์กองทุนประกันสังคม เงินชราภาพ ให้สามารถยืมได้แล้ว รวมไปถึงการเพิ่มสิทธิประโยชน์กรณีอื่น ๆ ได้แก่ เพิ่มเงินทดแทนกรณีขาดรายได้กรณีทุพพลภาพ จากเดิม 50% ของค่าจ้างเป็น 70% ของค่าจ้าง เพิ่มรายจ่ายเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตร จากเดิม 90 วัน เป็น 98 วัน นอกจากนี้ยังปรับเปลี่ยนอายุของผู้ประกันตนที่เป็นลูกจ้าง จากเดิมอายุ 60 ปี บริบูรณ์ เป็นอายุ 65 ปีบริบูรณ์
สำหรับสาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่…) พ.ศ. …..ฉบับนี้ได้แก่
1. การขยายความค้มครองให้ผู้ประกันตนเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุ โดยขยายอายุขั้นสูงของผู้ประกันมาตรา 33 ให้ผู้รับเงินบำนาญชราภาพสามารถสมัครเป็นผู้ประกันตนได้ ให้ผู้รับเงินบำนาญชราภาพสามารถขอรับเงินบำนาญจ่ายล่วงหน้าได้
2. การแก้ไขเพิ่มเติมสิทธิประโยชน์กรณีชราภาพอันเกิดจากข้อเรียกร้องของกลุ่มผู้ใช้แรงงาน เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนแก่ผู้ประกันตน โดยกำหนดให้ผู้ประกันตนสามารถเลือกรับเงินบำเหน็จหรือเงินบำนาญชราภาพได้ (ขอเลือก) ในกรณีเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ สาธารณภัย หรือเหตุการณ์อื่นใดอันส่งผลกระทบต่อผู้ประกันตน ก็สามารถนำเงินสะสมกรณีชราภาพบางส่วนออกมาใช้ก่อนได้ (ขอคืน) และการนำเงินสะสมกรณีชราภาพไปเป็นหลักประกันกับสถาบันการเงินได้ (ขอกู้)
3. การแก้ไขเพิ่มเติมสิทธิประโยชน์อื่น ๆ ได้แก่ เงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรจากเดิมจ่าย 90 วัน เป็น 98 วัน เงินทดแทนการขาดรายได้กรณีทุพพลภาพจากเดิมจ่ายร้อยละ 50 เป็นร้อยละ 70 กรณีสงเคราะห์บุตรให้ได้รับการคุ้มครองต่อไปอีก 6 เดือน นับแต่วันที่สิ้นสภาพการเป็นผู้ประกันตน
4. ปรับปรุงเงื่อนไขในการสมัครเข้าเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 และกำหนดให้เงินเพิ่มของผู้ประกันตนตามมาตรา 39 จะต้องไม่เกินเงินสมทบที่ต้องจ่าย
5. แก้ไขเพิ่มเติมในส่วนของบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับคณะกรรมการ ทั้งในส่วนของการได้มาซึ่งผู้แทนฝ่ายนายจ้างและผู้แทนฝ่ายผู้ประกันตน การกำหนดคุณสมบัติและลักษณะต้องห้าม วาระการดำรงตำแหน่ง เพิ่มเติมอำนาจของคณะกรรมการในการจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ รวมทั้งการบริหารจัดการพนักงานและลูกจ้าง
6. การแก้ไขมาตรการการลงโทษทางอาญาแก่นายจ้างเพื่อให้สอดคล้องกับลักษณะความผิดที่นายจ้างมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย
ข่าวปลอม! สินเชื่อ ‘อิ่มใจ’ MyMo วงเงิน 100,000 บาท จาก ธนาคารออมสิน
มีการเผยแพร่กันมาว่า ธนาคารออมสิน ทำการปล่อย สินเชื่อ ‘อิ่มใจ’ วงเงิน 100,000 บาท ผ่านแอปพลิเคชัน MyMo นั้น ไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด (10 พ.ค. 2565) ตามที่ได้มีข้อมูลด้านการเงินในสื่อออนไลน์เกี่ยวกับเรื่องธ. ออมสินปล่อยสินเชื่ออิ่มใจ ผ่านแอปพลิเคชัน MyMo วงเงินสูงสุด 100,000 บาท ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยธนาคารออมสิน กระทรวงการคลัง พบว่าข้อมูลดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ
จากกรณีที่มีการโพสต์ข้อความโดยระบุว่า ออมสินให้ยืม สินเชื่ออิ่มใจ ผ่านแอปฯ MyMo ทางธนาคารออมสิน กระทรวงการคลัง ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า เรื่องดังกล่าวไม่ใช่เรื่องจริง เพราะธนาคารออมสินได้ทำการปิดให้บริการยื่นกู้สินเชื่ออิ่มใจไปตั้งแต่เมื่อปลายปี 2564 เนื่องจากได้ปล่อยกู้ครบตามวงเงินของโครงการแล้ว
ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อ และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากธนาคารออมสิน กระทรวงการคลัง สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.gsb.or.th เฟซบุ๊ก GSB society หรือโทร 1115
Credit : แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว | แต่งบ้านและสวน | พระเครื่อง | รีวิวกล้องถ่ายรูป